วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดของเยาวชน


ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดของเยาวชน




 ในประเทศไทย

          ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้   มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ  บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ

          ฝิ่น


          ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก  เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร

ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปีล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติการห้ามซื้อ ขาย เสพฝิ่นไว้ว่า"ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง  ทเวนบกสามวัน  ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบน

แก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว  จึงให้ปล่อยผู้สูบ  ขาย  กินฝิ่น  ออกจากโทษ"   แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่นก็ยังมีต่อมาโดยตลอด   กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น   ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน   ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น  และ  ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย   เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

     ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย  ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล   ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีกโดย "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น   กินฝิ่น   ซื้อฝิ่นขายฝิ่น  และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน 3 ยก  ทเวนบก 3 วัน  ทเวนเรือ 3 วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"

         ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น  และ ในช่วงเวลานั้น   ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น   จึงเป็นการนำการใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย  ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้

การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382  ทำให้การค้าฝิ่นและสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ  และหัวเมืองชายทะเล  สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม

     

       ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบและขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้องเสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท  สูงเป็นอันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่

          ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการสังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็น

การสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37  ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501ให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร  และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้
   1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501

   2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น

   3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
   4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
   5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น  


ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น

      ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาปัองกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอดและระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด
      ในโลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมาย ที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่าน ท่านทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด เอ๊ะแล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือ  เพื่อนมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า  เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่  การเล่นกีฬาเล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมส์ต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนตในคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอีกมากมายที่จะนำความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจและยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติดไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้
เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด  


  

    ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของ            กลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้ 
          - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด ฉะนั้นการป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
          1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          2. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่นการพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          3. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเองครอบครัว และสังคม
          4. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อมไปสู่ชีวิตของตนเอง 
          5.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          6. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงามจะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          7. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          8. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง

          1. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดีการมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
       2. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
       3. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
       4. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงานของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น